ความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค(Regional Comprehensive Economic Partnership-RCEP)
สืบเนื่องจากความล้มเหลวของการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระดับพหุภาคีในกรอบWTO รอบโดฮา ส่งผลให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่นๆ อย่างเช่น ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership-TPP) และความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership-RCEP) จึงก้าวขึ้นมามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งความตกลงทั้ง 2ประเภทข้างต้น แม้มีความคล้ายคลึงกันอยู่มาก แต่เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดก็จะพบว่ามีข้อแตกต่างที่สำคัญอยู่หลายประการ
สำหรับ RCEP คือกรอบความตกลงใหม่ซึ่งได้รับการพัฒนามาจากความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนมีอยู่เดิมทั้งสิ้น 5 ฉบับกับ 6 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน-จีน อาเซียน-ญี่ปุ่น อาเซียน-เกาหลี อาเซียน-อินเดีย และอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ โดย RCEP จะเป็นความตกลงแบบองค์รวม (Comprehensive Agreement) ประกอบไปด้วยความร่วมมือ ทั้งเชิงลึกและเชิงกว้างกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค หรืออาจอธิบายได้ง่าย ๆ ว่า RCEP คือความพยายามของอาเซียนที่จะรวมเอาความตกลงเขตการค้าเสรีทั้ง 5 ฉบับให้กลายเป็นฉบับเดียวนั่นเอง ซึ่ง RCEP ตั้งเป้าว่าจะมีมาตรฐานสูงกว่าความตกลงเขตการค้าเสรีทั่วไป
นอกจากนั้น RCEP ยังเปิดโอกาสให้ประเทศอื่นๆ สามารถเข้าร่วมการเจรจาในภายหลังได้อีกด้วย
เมื่อมองไปที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจจะพบว่า ในปี 2555 มูลค่าการค้าขายระหว่างไทยกับอีก 15 ประเทศในกลุ่ม RCEP คิดเป็นเงินกว่า 2.55 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือมากกว่าครึ่งของยอดรวมการค้าของไทย และมีสัดส่วนการค้าที่มีมูลค่ารวมกันสูงถึง 17.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ ผลการศึกษาเบื้องต้นที่จัดทำโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ร่วมกับกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ พบว่า กรอบข้อตกลง RCEP จะทำให้จีดีพีของไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 4.03% โดยผัก ผลไม้แปรรูป อาหารแปรรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนประกอบยานพาหนะ ยางพารา และพลาสติก คือตัวอย่างสินค้าที่จะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นจากการส่งออก
สำหรับจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของ RCEP นั้นเกิดขึ้นเมื่อปี 2555 ระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 21 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ซึ่งผู้นำของทั้ง 16 ประเทศข้างต้น (อาเซียน+6) ได้มีเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะพัฒนากรอบความตกลง RCEP อย่างต่อเนื่องและมีเป้าหมายให้เสร็จสิ้นภายในปี 2558
สำหรับ RCEP คือกรอบความตกลงใหม่ซึ่งได้รับการพัฒนามาจากความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนมีอยู่เดิมทั้งสิ้น 5 ฉบับกับ 6 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน-จีน อาเซียน-ญี่ปุ่น อาเซียน-เกาหลี อาเซียน-อินเดีย และอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ โดย RCEP จะเป็นความตกลงแบบองค์รวม (Comprehensive Agreement) ประกอบไปด้วยความร่วมมือ ทั้งเชิงลึกและเชิงกว้างกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค หรืออาจอธิบายได้ง่าย ๆ ว่า RCEP คือความพยายามของอาเซียนที่จะรวมเอาความตกลงเขตการค้าเสรีทั้ง 5 ฉบับให้กลายเป็นฉบับเดียวนั่นเอง ซึ่ง RCEP ตั้งเป้าว่าจะมีมาตรฐานสูงกว่าความตกลงเขตการค้าเสรีทั่วไป
นอกจากนั้น RCEP ยังเปิดโอกาสให้ประเทศอื่นๆ สามารถเข้าร่วมการเจรจาในภายหลังได้อีกด้วย
เมื่อมองไปที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจจะพบว่า ในปี 2555 มูลค่าการค้าขายระหว่างไทยกับอีก 15 ประเทศในกลุ่ม RCEP คิดเป็นเงินกว่า 2.55 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือมากกว่าครึ่งของยอดรวมการค้าของไทย และมีสัดส่วนการค้าที่มีมูลค่ารวมกันสูงถึง 17.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ ผลการศึกษาเบื้องต้นที่จัดทำโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ร่วมกับกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ พบว่า กรอบข้อตกลง RCEP จะทำให้จีดีพีของไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 4.03% โดยผัก ผลไม้แปรรูป อาหารแปรรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนประกอบยานพาหนะ ยางพารา และพลาสติก คือตัวอย่างสินค้าที่จะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นจากการส่งออก
สำหรับจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของ RCEP นั้นเกิดขึ้นเมื่อปี 2555 ระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 21 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ซึ่งผู้นำของทั้ง 16 ประเทศข้างต้น (อาเซียน+6) ได้มีเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะพัฒนากรอบความตกลง RCEP อย่างต่อเนื่องและมีเป้าหมายให้เสร็จสิ้นภายในปี 2558
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น