การจัดซื้อโดยรัฐ (Government Procurement)
การดำเนินงานภายใต้องค์การการค้าโลก
ความตกลงว่าด้วยการจัดซื้อโดยรัฐ (Government Procurement Agreement - GPA) เป็นความตกลง หลายฝ่าย(plurilateral agreement) ขององค์การการค้าโลก ปัจจุบัน ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกที่เป็นสมาชิกความตกลง GPA มีจำนวนรวม ๔๐ ประเทศ โดยประเทศ ที่มีบทบาทสำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ๒๗ ประเทศ แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์
ประเทศไทยไม่ได้เป็นสมาชิกความตกลง GPA ขององค์การการค้าโลก อย่างไรก็ตามกระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลางอยู่การเข้าร่วมเป็นสมาชิก ความตกลง GPA ของประเทศไทย อาจส่งผลให้ต้องมีการปรับแก้กฎหมายภายในประเทศที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับหลักการของความตกลง GPA เช่น หลักประติบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment) การไม่เลือกปฏิบัติ (Non-Discrimination)ระหว่างสินค้า บุคคลหรือนิติบุคคลของไทยกับต่างชาติ และหลักการ เรื่องความโปร่งใส (Transparency)
กฎหมายสำคัญของประเทศไทยในเรื่องการจัดซื้อโดยรัฐคือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวง การคลัง ซึ่งมีเรื่องการใช้พัสดุที่ผลิตในประเทศและกิจการของคนไทย เป็นหลักการที่สามารถเอื้อประโยชน์ต่อสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย หรือผู้ประกอบการของ ประเทศไทยมากกว่าสินค้าหรือผู้ประกอบการต่างชาติได้ ดังนี้ หากประเทศไทยจะเข้าร่วมเป็นสมาชิก ความตกลง GPA ก็จะต้องแก้ไขกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับ หลักการของความตกลง GPA
การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA)
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีเรื่องการจัดซื้อโดยรัฐภายใต้การเจรจาความตกลงการค้าเสรี ๓ ฉบับ ได้แก่
ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ความตกลงการค้าเสรีไทย-นิวซีแลนด์ และความตกลงการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ข้อผูกพันของไทย ในความตกลง ทั้ง ๓ ฉบับ เป็นเพียงพันธกรณีในเรื่องความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนข้อมูล และการเจรจาเพิ่มเติมในอนาคต แต่ไม่มีข้อผูกพันเรื่องการเปิดตลาดการจัดซื้อโดยรัฐ Market Access)
------------------------------------------------
สำนักยุทธศาสตร์การเจรจา
กรกฎาคม 2554
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น