ความตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ เรื่อง การจัดซื้อโดยรัฐ (Government Procurement) |
ในปัจจุบันประเทศไทยให้ความสำคัญกับการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจภายในประเทศโดยการขยายขอบเขตการจัดทำข้อตกลง
เขตการค้าเสรี(FTA)กับประเทศคู่ค้าต่างๆ ครอบคลุมสาระสำคัญในด้านเศรษฐกิจทั้งหมด เช่น การค้า การเงินและการลงทุน เป็นต้น การจัด
ซื้อจัดจ้างภาครัฐ หรือการจัดซื้อโดยรัฐ(Government Procurement) ก็เป็นหัวข้อสำคัญที่ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นในการเจรจาจัดทำ
ข้อตกลงฯ เนื่องจากมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของแต่ละประเทศเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะประเทศไทย ที่มีมูลค่าการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
ถึงประมาณ ร้อยละ 3-5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ขณะที่ ประเทศไทยยังไม่มีการเปิดให้ผู้ประกอบการต่างชาติเข้าถึงระบบการ
จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของไทยได้โดยตรง ดังนั้น การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ จึงกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ปรากฏอยู่ในการจัดทำข้อตกลงฯ ระหว่าง
ประเทศทั้งที่เป็นระดับพหุภาคี(Multilateral Agreement)และทวิภาคี(Bilateral Agreement) อย่างไรก็ตาม การเจรจาจัดทำ
ข้อตกลงแบบทวิภาคีในหัวข้อ Government Procurement จะมีความแตกต่างจากหัวข้ออื่นๆ เนื่องจากจะใช้ข้อตกลงฯ แบบพหุภาคีเป็นกรอบ
ในการเจรจาฯ โดยตามความตกลงทางการค้าระหว่างประเทศในเรื่องที่สามารถสรุปประเด็นสำคัญได้ตามลักษณะของข้อตกลงดังนี้
1.แบบพหุภาคี (Multilateral Agreement)
1.1 ความตกลงฯภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก(World Trade Organization: WTO)
1.2 ความตกลงฯภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation:APEC)
2.แบบทวิภาคี (Bilateral Agreement)
2.1 ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย(Thailand-Australia Free Trade Agreement: TAFTA)
2.2 ความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดระหว่างไทย-นิวซีแลนด์(Thailand-New Zealand Closer Economic
Partnership: TNZCEP)
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น