วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

Regional Comprehensive Economic Partnership

Regional Comprehensive Economic Partnership


Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) is a proposed free trade agreement (FTA) between the ten member states of the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) (BruneiBurma (Myanmar)Cambodia,IndonesiaLaosMalaysia, the PhilippinesSingaporeThailandVietnam) and the six states with which ASEAN has existing FTAs (AustraliaChinaIndiaJapanSouth Korea and New Zealand). RCEP negotiations were formally launched in November 2012 at the ASEAN Summit in Cambodia.


RCEP market snapshot (including Australia)

  • GDP: US$21.3 trillion (2013)
  • GDP per capita: US$6,191 (2013)
  • Population: 3,435 million (2013)
  • Trade with Australia: AU$382.8 billion (2013)

About the RCEP negotiations

The Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) negotiations were launched by Leaders from ASEAN and ASEAN’s FTA partners in the margins of the East Asia Summit in Phnom Penh, Cambodia on 20 November 2012. The negotiations are based on the Guiding Principles and Objectives for Negotiating the RCEP [PDF] endorsed by Leaders.
RCEP is an ASEAN-centred proposal for a regional free trade area, which would initially include the ten ASEAN member states and those countries which have existing FTAs with ASEAN – Australia, China, India, Japan, Republic of Korea and New Zealand. The RCEP will build on and expand Australia’s existing FTA with ASEAN and New Zealand,AANZFTA. It will complement Australia’s participation in bilateral trade negotiations and in Trans-Pacific Partnership Agreement (TPP) negotiations.
RCEP has the potential to deliver significant opportunities for Australian businesses. The 16 RCEP participating countries account for almost half of the world’s population, almost 30 per cent of global GDP and over a quarter of world exports.
The objective of launching RCEP negotiations is to achieve a modern, comprehensive, high-quality and mutually beneficial economic partnership agreement that will cover trade in goods, trade in services, investment, economic and technical cooperation, intellectual property, competition, dispute settlement and other issues.
RCEP forms part of the Government’s strategy for lowering trade barriers and securing improved market access for Australian exporters of goods and services and Australian investors.

Key interests and benefits

  • RCEP participating countries are important economic partners and regional neighbours for Australia.
  • Nine out of Australia’s top 12 trading partners (China, Japan, ROK, Singapore, New Zealand, Thailand, Malaysia, India and Indonesia) are participating in RCEP negotiations, and together with the other six participating countries, account for almost 60 per cent of Australia’s two-way trade, and 70 per cent of Australia’s goods and services exports.
  • RCEP will provide a basis for more open trade and investment in the region. This will help address concerns about a ‘noodle bowl’ of overlapping bilateral agreements and derive additional benefits (eg. through supply chains) from regional liberalisation.
  • Australia and a number of other countries are engaged both in the Trans-Pacific Partnership Agreement (TPP) and RCEP negotiations – both processes provide possible pathways to a free trade area of the Asia–Pacific.

ASEAN

Overview

ESTABLISHMENT
The Association of Southeast Asian Nations, or ASEAN, was established on 8 August 1967 in Bangkok, Thailand, with the signing of the ASEAN Declaration (Bangkok Declaration) by the Founding Fathers of ASEAN, namely Indonesia, Malaysia, Philippines, Singapore and Thailand.
Brunei Darussalam then joined on 7 January 1984, Viet Nam on 28 July 1995, Lao PDR and Myanmar on 23 July 1997, and Cambodia on 30 April 1999, making up what is today the ten Member States of ASEAN.
AIMS AND PURPOSES
As set out in the ASEAN Declaration, the aims and purposes of ASEAN are:
  1. To accelerate the economic growth, social progress and cultural development in the region through joint endeavours in the spirit of equality and partnership in order to strengthen the foundation for a prosperous and peaceful community of Southeast Asian Nations;
  2. To promote regional peace and stability through abiding respect for justice and the rule of law in the relationship among countries of the region and adherence to the principles of the United Nations Charter;
  3. To promote active collaboration and mutual assistance on matters of common interest in the economic, social, cultural, technical, scientific and administrative fields;
  4. To provide assistance to each other in the form of training and research facilities in the educational, professional, technical and administrative spheres;
  5. To collaborate more effectively for the greater utilisation of their agriculture and industries, the expansion of their trade, including the study of the problems of international commodity trade, the improvement of their transportation and communications facilities and the raising of the living standards of their peoples;
  6. To promote Southeast Asian studies; and
  7. To maintain close and beneficial cooperation with existing international and regional organisations with similar aims and purposes, and explore all avenues for even closer cooperation among themselves.
FUNDAMENTAL PRINCIPLES
In their relations with one another, the ASEAN Member States have adopted the following fundamental principles, as contained in the Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia (TAC) of 1976:
  1. Mutual respect for the independence, sovereignty, equality, territorial integrity, and national identity of all nations;
  2. The right of every State to lead its national existence free from external interference, subversion or coercion;
  3. Non-interference in the internal affairs of one another;
  4. Settlement of differences or disputes by peaceful manner;
  5. Renunciation of the threat or use of force; and
  6. Effective cooperation among themselves.
ASEAN COMMUNITY
The ASEAN Vision 2020, adopted by the ASEAN Leaders on the 30th Anniversary of ASEAN, agreed on a shared vision of ASEAN as a concert of Southeast Asian nations, outward looking, living in peace, stability and prosperity, bonded together in partnership in dynamic development and in a community of caring societies.
At the 9th ASEAN Summit in 2003, the ASEAN Leaders resolved that an ASEAN Community shall be established.
At the 12th ASEAN Summit in January 2007, the Leaders affirmed their strong commitment to accelerate the establishment of an ASEAN Community by 2015 and signed the Cebu Declaration on the Acceleration of the Establishment of an ASEAN Community by 2015.
Please click here for the ASEAN Political-Security Community VideoDownload Video.
Please click here for the ASEAN Economic Community Video.
Please click here for ASEAN Socio-Cultural Community Video.
Please click here for ASEAN History and Purposes.
ASEAN CHARTER
The ASEAN Charter serves as a firm foundation in achieving the ASEAN Community by providing legal status and institutional framework for ASEAN. It also codifies ASEAN norms, rules and values; sets clear targets for ASEAN; and presents accountability and compliance.
The ASEAN Charter entered into force on 15 December 2008. A gathering of the ASEAN Foreign Ministers was held at the ASEAN Secretariat in Jakarta to mark this very historic occasion for ASEAN.
With the entry into force of the ASEAN Charter, ASEAN will henceforth operate under a new legal framework and establish a number of new organs to boost its community-building process.
In effect, the ASEAN Charter has become a legally binding agreement among the 10 ASEAN Member States.
Find out more about the ASEAN Charter here.
General information

RCEP คืออะไร

RCEP คืออะไร

Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) คือ ความตกลงพันธมิตรทางการค้าระดับภูมิภาค ที่เป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่าง ASEAN 10 ประเทศ กับคู่ภาคีที่มีอยู่ 6 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
การรวมกลุ่มเศรษฐกิจที่เรียกว่า RCEP เป็นชื่อเรียกใหม่ที่หลายคนอาจไม่คุ้น แต่หากบอกว่าเป็นการรวมกลุ่มเศรษฐกิจที่เรียกว่า อาเซียนบวก 6 (ASEAN +6) น่าจะคุ้นชินมากขึ้น เพราะในกระแสการพูดเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community : AEC) มักจะมีการเชื่อมโยงพูดถึงตลาดนอกอาเซียนที่มีขนาดใหญ่่ขึ้น กว้างขึ้นอย่าง ASEAN +6 อยู่เสมอ
แต่การตื่นตัวเรื่อง RCEP มีมากขึ้นหลังจากการประชุมอาเซียนซัมมิท ครั้งที่ 21 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2555 ผู้นำของทั้ง 16 ประเทศ ได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะเจรจาความตกลง RCEP ในต้นปี 2556 และมุ่งหมายให้การเจรจาแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2558
โดยความตกลง RCEP พัฒนามาจากความตกลงการค้าเสรีที่อาเซียนมีอยู่แล้ว 5 ฉบับ กับ 6 ประเทศ คือ อาเซียน-จีน, อาเซียน-ญี่ปุ่น, อาเซียน-เกาหลี, อาเซียน-อินเดีย และอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์
จุดมุ่งหมายเพื่อให้ RCEP เป็นความตกลงที่มีคุณภาพและทันสมัย บนผลประโยชน์ร่วมกันอย่างรอบด้านในการสนับสนุนการขยายการค้าและการลงทุนในภูมิภาค รวมทั้งส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน เป็นระบบการค้าเสรีที่ใช้กฎระเบียบเดียวกันของภาคีทั้งหมด 16 ประเทศ
นอกจากนี้ ยังเป็นไปเพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจของอาเซียนเข้ากับเศรษฐกิจโลก (Global Supply Chain) ครอบคลุมทุกมิติการค้า ทั้งด้านสินค้า บริการ ลงทุน มาตรการการค้า และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิต การค้าและการลงทุน ให้สอดคล้องและมีความสะดวกทางการค้าและการลงทุนมากขึ้น
RCEP-Map-550-529x620

โดยเป้าหมายของ RCEP มีกรอบการเจรจา คือ
1. ครอบคลุมทุกมิติที่กว้างขึ้น เช่น รายการสินค้า จากที่เคยลดรวม 95% ต้องลดมากกว่า 95%
2. กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin: ROO) มีความจำเป็นจะต้องสะท้อนให้สมาชิกเป็น Global Supply Chain ให้ได้
3. ลดกฎระเบียบการค้าและบริการให้มากที่สุด
4. การลงทุนเปิดเสรี อำนวยความสะดวก ต้องทำให้เกิดบรรยากาศการแข่งขันทางการลงทุน การส่งเสริมและคุ้มครองการเปิดเสรีจะต้องมี Capacity Building ผลักดัน FTAs ที่จะเกิดขึ้นก้าวต่อไปได้ในระดับที่ใกล้เคียงกัน
5. RCEP ต้องไกลกว่า ASEAN +1 สิ่งที่จะทำต้องมีประโยชน์ต่อทุกประเทศ (ประเทศกำลังพัฒนาด้วย) เป็นความตกลงรวมกลุ่มทางภูมิภาค เทียบเคียงกับกลุ่มอื่นๆ ได้ มุ่งหวังให้ใกล้เคียงกับ TPP
หากการเจรจากลุ่มการค้าเสรีนี้สำเร็จ ประเทศในความตกลง RCEP จะกลายเป็นกลุ่มการค้าเสรีใหญ่ที่สุด และมีตลาดรองรับมากที่สุดในโลก เนื่องจากประเทศในกลุ่มสมาชิก RCEP มีจีดีพีรวมกว่า 16,761 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีการเติบโตอย่างรวดเร็วด้วยประชากรรวมกว่า 3,358 ล้านคน
โดยมีสมาชิกที่สำคัญเป็น 2 ประเทศเกิดใหม่ทางเศรษฐกิจ (BRICS) คือ จีนและอินเดีย ที่ประกอบไปด้วยประชากรกว่า 3,000 ล้านคน ขนาด GDP ประมาณ 50 % ของ GDP โลก และเป็นเขตเศรษฐกิจที่ส่งออกสินค้าเป็นอันดับ 1 ของโลก มีกำลังซื้อของผู้บริโภคมาจากชนชั้นกลางที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบจะถือว่า RCEP มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าเศรษฐกิจไทยถึง 48 เท่า
ในด้านการค้า RCEP มีสัดส่วนการค้าในระดับโลกที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึง 17.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีที่ผ่านมา ไทยค้าขายกับประเทศในกลุ่ม RCEP กว่า 2.55 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 56% ของยอดรวมการค้าของไทย RCEP จึงเป็นกลุ่มการค้าขนาดใหญ่ที่จะส่งผลกระทบมหาศาลต่อประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ที่มา :http://thaipublica.org

ความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคRCEP

ความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค(Regional Comprehensive Economic Partnership-RCEP)

        สืบเนื่องจากความล้มเหลวของการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระดับพหุภาคีในกรอบWTO รอบโดฮา ส่งผลให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่นๆ อย่างเช่น ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership-TPP) และความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership-RCEP) จึงก้าวขึ้นมามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งความตกลงทั้ง 2ประเภทข้างต้น แม้มีความคล้ายคลึงกันอยู่มาก แต่เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดก็จะพบว่ามีข้อแตกต่างที่สำคัญอยู่หลายประการ
        สำหรับ RCEP คือกรอบความตกลงใหม่ซึ่งได้รับการพัฒนามาจากความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนมีอยู่เดิมทั้งสิ้น 5 ฉบับกับ 6 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน-จีน อาเซียน-ญี่ปุ่น อาเซียน-เกาหลี อาเซียน-อินเดีย และอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ โดย RCEP จะเป็นความตกลงแบบองค์รวม (Comprehensive Agreement) ประกอบไปด้วยความร่วมมือ ทั้งเชิงลึกและเชิงกว้างกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค หรืออาจอธิบายได้ง่าย  ๆ ว่า RCEP คือความพยายามของอาเซียนที่จะรวมเอาความตกลงเขตการค้าเสรีทั้ง 5 ฉบับให้กลายเป็นฉบับเดียวนั่นเอง ซึ่ง RCEP ตั้งเป้าว่าจะมีมาตรฐานสูงกว่าความตกลงเขตการค้าเสรีทั่วไป
        นอกจากนั้น RCEP ยังเปิดโอกาสให้ประเทศอื่นๆ สามารถเข้าร่วมการเจรจาในภายหลังได้อีกด้วย
        เมื่อมองไปที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจจะพบว่า ในปี 2555 มูลค่าการค้าขายระหว่างไทยกับอีก 15 ประเทศในกลุ่ม RCEP คิดเป็นเงินกว่า 2.55 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือมากกว่าครึ่งของยอดรวมการค้าของไทย และมีสัดส่วนการค้าที่มีมูลค่ารวมกันสูงถึง 17.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ ผลการศึกษาเบื้องต้นที่จัดทำโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ร่วมกับกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ พบว่า กรอบข้อตกลง RCEP จะทำให้จีดีพีของไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 4.03% โดยผัก ผลไม้แปรรูป อาหารแปรรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนประกอบยานพาหนะ ยางพารา และพลาสติก คือตัวอย่างสินค้าที่จะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นจากการส่งออก
        สำหรับจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของ RCEP นั้นเกิดขึ้นเมื่อปี 2555 ระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 21 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ซึ่งผู้นำของทั้ง 16 ประเทศข้างต้น (อาเซียน+6) ได้มีเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะพัฒนากรอบความตกลง RCEP อย่างต่อเนื่องและมีเป้าหมายให้เสร็จสิ้นภายในปี 2558
■ คอลัมน์ AEC Pedia / ■ ฐกร
■ จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ AEC world ปีที่33 (1) ฉบับที่ 2,847 (13) วันที่ 26 - 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

RCEP เพิ่มขีดแข่งขันอาเซียน เชื่อมเครือข่ายผลิต-การค้า-ลงทุน

RCEP เพิ่มขีดแข่งขันอาเซียน เชื่อมเครือข่ายผลิต-การค้า-ลงทุน

นอกเหนือจากการให้ความสำคัญกับการเตรียมพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 แล้ว การคิดการณ์ไกลถึงการปรองดองการค้าทั้งอาเซียน+3 และอาเซียน+6 ก็เป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่ทั้ง 10 ประเทศสมาชิกควรร่วมมือกันพัฒนาภูมิภาคอาเซียนให้มีจุดแข็งเป็นที่ยอมรับของเวทีโลกได้
ในงานเสวนา "AEC and SMEs Challenges : Next Steps (Phase 5)" ที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินี รอยัล เมอริเดียน กรุงเทพฯ จึงพุ่งประเด็นสู่การเจรจาความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่จำเป็นต้องนำมาศึกษา และร่วมถกปัญหาให้ครอบคลุมทุกมิติการค้า เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิต การค้า บริการ และการลงทุน โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบัน อาทิ การแข่งขันทางการค้า ทรัพย์สินทางปัญญา และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น การรวมตัวกันของอาเซียนกับอีก 6 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ นับเป็นก้าวสำคัญของยุทธศาสตร์การค้าระหว่างไทยและอาเซียน
ปัจจุบันมูลค่าการค้าขายของไทยกับ RCEP ราว 255,000 ล้านเหรียญ หรือ 56% ของมูลค่าการค้ารวมของไทย และการเปิดเสรีการค้าจะทำให้ไทยมีโอกาสขยายการค้าเพิ่มขึ้นด้วยดร.วิมลกานต์ โกสุมาศ รองผู้อำนวยการและรักษาการตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวเพิ่มว่า ควรให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เมื่อไทยก้าวเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างสมบูรณ์
หลักการสำคัญของ RCEP คือการสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน โดยจะพัฒนาต่อยอดจากความตกลงการค้าเสรีในปัจจุบันของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาในลักษณะ"Comprehensive Agreement" หรือข้อตกลงที่ครอบคลุมทุกมิติ
นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวปาฐกถาในเรื่อง "การเชื่อมโยงอาเซียนกับ 6 ประเทศ" ว่า การปรับตัวและหาโอกาสทางการค้าและการลงทุน เพื่อสร้างความแกร่งให้กับธุรกิจในอนาคต รวมถึงภาคธุรกิจ SMEs ที่คิดเป็นสัดส่วนกว่า 37% ของเศรษฐกิจไทย
แม้มีจุดเน้นที่แตกต่างกันแต่ความเชื่อมโยงก็มีหลากหลายมิติ ทั้งในด้านการคมนาคม เศรษฐกิจ กฎระเบียบ และการเชื่อมโยงระหว่างประชาชน
ในมุมมองของนายสีหศักดิ์ RCEP หรือ Game Changer เชื่อว่าจะเปลี่ยนโฉมหน้าเศรษฐกิจของภูมิภาคได้ เพราะเหตุผลดังต่อไปนี้ 1.อาเซียน+6 จะกลายเป็นกลุ่มการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีประชากรราว 45% ของประชากรโลก 2. เป็นการย้ำถึงบทบาทของเอเชียตะวันออกที่เป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจโลก 3. เป็นการกระตุ้นการค้าภายในภูมิภาคมากขึ้น จากปัจจุบันที่มูลค่าการค้าระหว่างประเทศอาเซียนอยู่ที่ 25% ของมูลค่าการค้าต่างประเทศทั้งหมดในอาเซียน ซึ่งเมื่อเทียบกับมูลค่าการค้าภายในกลุ่มประเทศอียูที่ 75% จะเห็นว่าการค้าภายในกลุ่มอาเซียนยังสามารถเติบโตได้อีกมาก
ส่วนประเด็นความคืบหน้าการเจรจา RCEP นางนิศา ศรีสุวรนันท์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า AEC Blueprint หรือการกำหนดยุทธศาสตร์การเป็นประชาคมอาเซียน โดยมีพื้นฐานความเข้าใจที่ตรงกัน
คือ 1.การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน 2.การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง 3.การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน และ 4.การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกโดยนางนิศาย้ำว่า ขณะนี้การเจรจา RCEP เริ่มต้นด้วยดี ประเทศร่วมเจรจาอย่างจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เห็นถึงความสำคัญด้านการค้าบริการและการลงทุน ซึ่งล่าสุดการเจรจากับประเทศที่ 7 คือฮ่องกง ดูเหมือนว่าจะเป็นทิศทางบวกเช่นกัน ซึ่งปัจจุบันข้อตกลง 6 ฉบับ (จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, อินเดีย, ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ และฮ่องกง) ยังคงดำเนินการยกระดับข้อตกลงและใช้กฎระเบียบที่ยอมรับร่วมกัน เช่น ภาษีและกฎหมาย เป็นต้น
ขณะที่ผู้แทนจากกลุ่มประเทศอาเซียน และอาเซียน+6 ได้แก่ น.ส.แชนนอน ออสติน รองผู้ช่วยคณะผู้แทนของเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย , นายลิว ซุง วู เลขานุการด้านการค้าของเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย , นายนาวีน สักเซนา เลขานุการเอก (ฝ่ายเศรษฐกิจและการพาณิชย์) ของเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย ต่างเห็นพ้องไปทางเดียวกันว่า ไทยควรปรับเปลี่ยนนโยบายด้านกฎหมายให้เคร่งครัดและรัดกุมมากขึ้น ซึ่งกฎหมายยังไม่เอื้อต่อการทำธุรกิจระหว่างประเทศเท่าที่ควร ทั้งที่การก้าวเป็นส่วนหนึ่งในภูมิภาคเดียวกันจะเพิ่มความเสรีมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยให้มีการเตรียมพร้อมก่อนการก้าวสู่อาเซียน+6 มีความสำคัญในฐานะที่อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพสูง ซึ่งต้องร่วมมือกันรักษาและขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุน รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้เทียบเคียงกับเวทีโลกได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป
หมวดหมู่ของข่าว: 
แหล่งข่าว: 
ประชาชาติธุรกิจ

RCEP vs TPP

RCEP vs TPP


10 months ago


RCEP vs TPP

เขียนโดย รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี
ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตีพิมพ์ในคอลัมน์กระบวนทรรศน์ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
ฉบับวันที่ 21 มีนาคม 2556
ขณะนี้ กำลังมีแผนการจัดตั้ง FTA ในภูมิภาค ซึ่ง FTA ตัวแรกเป็น FTA ที่มีอาเซียนเป็นแกน มีชื่อว่า RCEP ส่วน FTA ตัวที่สอง มี สหรัฐฯ เป็นแกน ชื่อว่า TPP คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์ FTA ทั้งสอง และจะนำไปสู่บทสรุปที่ว่า ไทยและอาเซียนควรจะมีท่าทีอย่างไร
RCEP
ในการประชุมสุดยอดอาเซียนเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้มีการจัดทำปฏิญญาร่วม ระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา 6 ประเทศ ที่มี FTA กับอาเซียน ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ โดยจะมีการเจรจา FTA ตัวใหม่ ระหว่าง 16 ประเทศ ที่มีชื่อว่า Regional Comprehensive Economic Partnership หรือ RCEP หากเกิด FTA ระหว่าง 16 ประเทศได้จริง จะทำให้ RCEP กลายเป็น FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยจะมีประชากรรวมกันกว่า 3000 ล้านคน คือ ประมาณ 45% ของประชากรโลก และมี GDP รวมกัน เกือบ 20 ล้านล้านเหรียญ หรือประมาณ 1 ใน 3 ของ GDP โลก
โดยการเจรจา RCEP จะตั้งอยู่บนหลักการที่จะเป็น FTA ที่มีคุณภาพสูงกว่า FTA ASEAN+1 และ RCEP จะมีความยืดหยุ่นสูง โดยจะมีหลักการให้การปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่าง รวมทั้งประเทศคู่เจรจาของอาเซียนที่ไม่เข้าร่วม RCEP ในตอนเริ่มต้น ก็สามารถเข้าร่วมเจรจาในภายหลังได้ นอกจากนั้น RCEP ยังเปิดกว้าง พร้อมที่จะให้ประเทศอื่นๆ สามารถเข้าร่วมในภายหลังได้ด้วย RCEP จึงเป็นความพยายามของอาเซียนที่จะบูรณาการ FTA ที่มีอยู่ในกรอบอาเซียน + 1 ทั้ง 5ฉบับ ให้กลายเป็นฉบับเดียว
ข้อดีของ RCEP ต่อ อาเซียนและไทย มีดังนี้
1.RCEP จะเป็น FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลก จะครอบคลุมประเทศคู่ค้าสำคัญของอาเซียนและไทย โดยเฉพาะ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ และ ออสเตรเลีย ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของการค้าในภูมิภาค ไทยและอาเซียนน่าจะได้ประโยชน์จากการส่งออกไปตลาดประเทศเหล่านี้ รวมทั้งได้ประโยชน์จากบูรณาการทางเศรษฐกิจในภูมิภาคในเชิงลึกมากขึ้น
2.RCEP จะทำให้อาเซียนกลับมามีบทบาทนำในบูรณาการทางเศรษฐกิจในภูมิภาค คือจะทำให้อาเซียนเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ซึ่งจะมาแข่งกับ TPP ซึ่งจะเป็น FTA ที่สหรัฐฯจะเป็นแกนกลางแข่งกับอาเซียน นอกจากนี้ RCEP จะแก้ปัญหาความขัดแย้งในอดีตที่ยืดเยื้อมาหลายปี คือ ความขัดแย้งระหว่างจีนกับญี่ปุ่น โดยจีนต้องการผลักดัน FTA ในกรอบอาเซียน+3 ซึ่งจะมีชื่อว่า East Asia Free Trade Area ในขณะที่ญี่ปุ่นต้องการผลักดัน FTA ในกรอบอาเซียน+6 ที่มีชื่อว่า Comprehensive Economic Partnership in East Asia หรือ CEPEA
3.อาเซียนตั้งเป้าที่จะเจรจาข้อตกลง RCEP ให้เสร็จในปี 2015 ซึ่งมีความเป็นไปได้สูง เพราะไม่ต้องเริ่มจากศูนย์ เพราะอาเซียนมี FTA กับประเทศคู่เจรจาอยู่แล้ว 5 ฉบับ ก้าวต่อไปคือ การเจรจาเพื่อบูรณาการ FTA ทั้ง 5 ฉบับ ให้กลายเป็นฉบับเดียว ซึ่งไม่น่ายุ่งยาก ในขณะที่ TPP ซึ่งเป็นคู่แข่งของ RCEP การเจรจาคงจะยุ่งยากมาก
4.การเจรจา RCEP มีความยืดหยุ่นสูง เพราะเปิดกว้าง ที่จะให้ประเทศที่ไม่ได้เข้าร่วมเจรจาในตอนแรก ได้เข้าร่วมภายหลังได้ ทั้งประเทศคู่เจรจาที่มี FTA อยู่แล้ว และรวมทั้งประเทศอื่นๆด้วย RCEP จึงเป็น FTA ที่ไม่ได้ปิดกั้นใคร ไม่เหมือน TPP ที่พยายามแบ่งพรรคแบ่งพวก โดยเฉพาะการพยายามกีดกันไม่ให้จีนเข้าร่วม TPP TPP
FTA ในภูมิภาคที่จะมาเป็นคู่แข่งของ RCEP คือ TPPโดยมีสหรัฐฯเป็นผู้นำ รัฐบาล Obama พยายามผลักดัน TPP เป็นอย่างมาก โดยบอกว่า TPP จะเป็น FTA ที่มีมาตรฐานสูง และก้าวหน้ามากที่สุดในโลก จะขยายจำนวนสมาชิกให้ครอบคลุมประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ซึ่งในที่สุด TPP จะเป็น FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลก สหรัฐฯ ต้องการที่จะเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคโดยใช้ TPP เป็นเครื่องมือสำคัญ และ TPP จะเป็นตัวกันการรวมกลุ่มของประเทศในภูมิภาคโดยไม่มีสหรัฐฯ นอกจากนี้ TPP ยังเป็นเครื่องมือในการโดดเดี่ยวและปิดล้อมจีนทางเศรษฐกิจด้วย
ข้อเสียของ TPP ต่ออาเซียนและไทยมีดังนี้
1.TPP จะเป็น FTA ที่มีมาตรฐานสูงและมีความเข้มข้นมาก จะมีการเจรจาเปิดเสรี ถึง 26 สาขา ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในหลายสาขา โดยเฉพาะภาคบริการ มาตรฐานแรงงานและสิ่งแวดล้อม และทรัพย์สินทางปัญญา แม้ว่าไทยอาจจะได้ประโยชน์บ้าง จากการส่งสินค้าบางตัวไปสหรัฐฯ แต่ก็มีหลายสาขาที่เราจะเสียเปรียบ ซึ่งโดยรวมแล้วไม่น่าจะคุ้ม นอกจากนี้ จากประสบประการณ์การเจรจา FTA ไทยกับสหรัฐฯ ในอดีต ชี้ให้เห็นว่า จะเกิดอะไรขึ้น หากไทยโดดเข้าร่วมเจรจา TPP เต็มตัว โดยเฉพาะภาคประชาสังคมจะมีความอ่อนไหวในเรื่องนี้มากโดยเฉพาะในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา เรื่องสิทธิบัตรยา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาคประชาสังคมของไทยในวงกว้าง โดยเฉพาะเกี่ยวกับการเข้าถึงยา นอกจากนี้ ในการเปิดตลาดการค้าภาคบริการโดยเฉพาะในภาคการเงิน สหรัฐฯก็มีระบบการเงินที่แข็งแกร่งกว่าไทยมาก
2.TPP จะกระทบต่อแผนการการจัดตั้ง FTA ในกรอบ RCEP ดังกล่าวข้างต้น โดย TPP จะเป็นคู่แข่งสำคัญของ RCEP เพราะ FTA ทั้งสองตัวตั้งเป้าที่จะเป็น FTA ของภูมิภาคโดยรวม ดังนั้น RCEP และ TPP จะแข่งขันกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หาก TPP ประสบความสำเร็จในการบรรลุข้อตกลงปลายปีนี้ และหากดึงญี่ปุ่นเข้าร่วมด้วย ก็จะทำให้ RCEP กระเทือน แต่ในทางกลับกัน หาก RCEP ประสบความก้าวหน้าในการเจรจา ก็จะทำให้แผนการจัดตั้ง TPP ได้รับผลกระทบอย่างหนักเช่นเดียวกัน
3.TPP เป็น FTA ที่มีลักษณะของการกีดกั้น แบ่งพรรคแบ่งพวก สหรัฐฯ พยายามบีบคั้นประเทศต่างๆให้เข้าร่วม ขณะเดียวกัน ก็กีดกันไม่ให้จีนเข้าร่วม TPP จึงเป็นยุทธศาสตร์การโดดเดี่ยวและปิดล้อมจีนทางเศรษฐกิจ ดังนั้น TPP จะทำให้ประเทศต่างๆในภูมิภาคมีความลำบากใจ เพราะประเทศเหล่านี้ มีปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีนอย่างแน่นแฟ้น จีนก็มีความเชื่อว่า เงื่อนไขต่างๆ ที่ใส่ไว้ใน TPP เป็นเงื่อนไขที่สร้างขึ้นมาเพื่อที่จะกีดกันไม่ให้จีนเข้าร่วม แม้กระทั่งสื่ออเมริกาเอง ก็มองว่า TPP เป็นเครื่องมือในการถ่วงดุลอำนาจจีนทางเศรษฐกิจ ประธานาธิบดี Obama เอง ก็ยังกล่าวในช่วงหาเสียงการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อปลายปีที่แล้วว่า จะส่งเสริม TPP เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกดดันจีน ให้จีนปฏิบัติตามกติกาการค้าของโลก ดังนั้น หากไทยรีบตัดสินใจโดดเข้าร่วม TPP ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนได้
4.ข้อเสียประการที่ 4 ของ TPP คือ TPP จะลดบทบาทของอาเซียนในการเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาค นอกจากนี้ TPP ยังแบ่งแยกอาเซียน ทำให้อาเซียนแตก เพราะขณะนี้มี 4 ประเทศอาเซียนได้โดดเข้าร่วม TPP ไปแล้ว คือ เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และบรูไน และประเทศไทยเอง ในตอนที่โอบามามาเยือนไทย รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ได้แสดงความสนใจที่จะโดดเข้าร่วม TPP ด้วย
5.ข้อเสียประการที่ 5 ของ TPP คือ การเจรจา TPP ที่จะบรรลุข้อตกลง ดูมีความเป็นไปได้ยาก ถึงแม้ว่า RCEP จะเริ่มเจรจาช้ากว่า คือเริ่มเจรจาเมื่อต้นปีนี้เอง แต่ก็มีแนวโน้มว่า จะมีความคืบหน้าในการเจรจา เนื่องจาก การเจรจา RCEP จะเน้นเอา FTA ต่างๆที่อาเซียนมีกับประเทศคู่เจรจาอยู่แล้ว ให้กลายเป็น ข้อตกลง FTA ฉบับเดียว ในขณะที่ TPP ถึงแม้จะมีการเจรจาไปแล้วถึง 15 ครั้ง แต่เนื่องจากการเจรจาครอบคลุมถึง 26 เรื่อง และสหรัฐฯ ตั้งเป้าที่จะให้มีมาตรฐานสูง การเจรจาจึงไม่คืบหน้า จึงมีเครื่องหมายคำถามใหญ่ว่า TPP จะสามารถสรุปการเจรจาภายในปีนี้ได้หรือไม่ กล่าวโดยสรุป จากการวิเคราะห์ผลดีผลเสียดังกล่าวข้างต้น เห็นได้ชัดว่า RCEP น่าจะให้ผลดีต่อไทยและอาเซียนมากกว่า TPP ดังนั้น ท่าทีของไทยจึงควรให้ความสำคัญกับ RCEP มากกว่า TPP โดย RCEP จะกลายเป็น FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ไทยจะได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และ RCEP จะทำให้อาเซียนเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ซึ่งจะช่วยหนุนทำให้ประชาคมอาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประสบความสำเร็จและมีความโดดเด่นในระบบเศรษฐกิจโลกในระยะยาว
แต่ในทางกลับกัน TPP จะส่งผลกระทบทางลบต่อไทยหลายประการ โดยเฉพาะจุดอันตรายในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าภาคบริการ TPP เป็นคู่แข่งสำคัญของ RCEP และอาจทำให้ RCEP ประสบความล้มเหลว นอกจากนี้ TPP ยังเป็น FTA ที่อันตราย ที่แบ่งแยกประเทศต่างๆในภูมิภาค ด้วยการโดดเดี่ยวจีน และแบ่งแยกอาเซียน นอกจากนี้ ในขณะที่ RCEP มีโอกาสที่จะบรรลุข้อตกลง แต่ TPP คงจะเจรจากันลำบาก จากข้อสรุปดังกล่าว ไทยจึงควรให้ความสำคัญกับ RCEP และไม่ควรรีบร้อนโดดเข้าร่วมเจรจา TPP โดยควรจะมีการศึกษาข้อดีข้อเสีย ของ TPP ให้ชัดเจนมากกว่านี้ อย่างไรก็ตาม หากไทยกลัวตกรถไฟสาย TPP และหากกลัวว่าจะกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ไทยก็อาจใช้วิธีโดดเข้าร่วมทั้งสองเวที คือ เอาทั้ง RCEP และ TPP แต่ให้น้ำหนักกับ RCEP มากกว่า TPP โดย RCEP ไทยควรจะโดดเข้าร่วมเต็มตัว แต่ TPP เราอาจจะเข้าร่วมในลักษณะของการเข้าไปสังเกตการณ์ ดูว่าเค้าเจรจาอะไรกัน และถ้าเห็นท่าไม่ดี ก็อาจจะถอนตัวออกมาก็ได้ ดังนั้นไทยควรจะมีทางเลือก หรือ options หลายๆทางไว้ สำหรับการเจรจา FTA ในภูมิภาค ที่กำลังจะสับสนวุ่นวายมากขึ้นเรื่อยๆในอนาคต

RCEP

RCEP ย่อมาจาก Regional Comprehensive Economic Partnership หรือภาษาไทย คือ “ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคของอาเซียน”
หมายถึงข้อริเริ่มของอาเซียนในการขยายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยการจัดทำความตกลงการค้าเสรีร่วมกันเป็นฉบับเดียว โดยเริ่มแรกมีเป้าหมายจะจัดทำความตกลงดังกล่าวกับประเทศภาคีFTAs ปัจจุบันของอาเซียน หรือ ASEAN+6 (คือ ASEAN และ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และอินเดีย) ที่สนใจเข้าร่วมก่อน ส่วนประเทศอื่นๆ จะสามารถเข้าร่วมได้ภายหลังจากที่การเจรจา RCEP เสร็จสิ้นแล้ว ทั้งนี้อาเซียนคาดว่าจะสามารถประกาศเริ่มการเจรจา RCEP ได้ภายใน ปลายปี2555 หรือไม่เกินต้นปี2556
ล่าสุด 22 พ.ย.2555 ผู้นำอาเซียนและผู้นำประเทศคู่เจรจา 6 ประเทศ ได้แก่ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ประกาศเปิดการเจรจาการจัดทำความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership หรือเรียกว่า RCEP) ซึ่งถือเป็นความตกลงที่มีผลกระทบสูง (high impact) ต่อเอเชียและแปซิฟิก ด้วยขนาดตลาดที่ใหญ่รวมกัน 3,358 ล้านคน และมีสัดส่วนการค้าที่มีมูลค่าเศรษฐกิจรวมกันสูงถึง 17.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โดย RCEP อยู่ 5 ฉบับ กับ 6 ประเทศ ให้เป็นความตกลงการค้าเสรีร่วมกันฉบับเดียว โดยมีอาเซียนเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ครอบคลุมทุกมิติการค้า (สินค้า บริการ ลงทุน มาตรการการค้า ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ) หากการเจรจาประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มเจรจาได้ในต้นปี 2556 และมีเป้าหมายเจรจาให้เสร็จในปี 2558 อันเป็นปีที่จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ไม่เพียงแค่นั้น ไทยยังได้ประกาศความร่วมมือข้าวกับ 5 ประเทศอาเซียน ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ RCEP :
http://www.thaifta.com/trade/public/ronnarong_24oct55.pdf
http://www.thaifta.com/trade/public/kraisri_24oct55.pdf



อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/619#ixzz3Q0kE4Ivi

RCEP : ความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค

ความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค(Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP)

 
ความเป็นมา
อาเซียนได้ตั้งเป้าหมายที่จะจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) โดย มีการดำเนินงานการรวมกลุ่มเศรษฐกิจใน 2 แนวทางคู่ขนานกัน คือ (1) การรวมกลุ่มภายในอาเซียน ซึ่งมีเป้าหมายสูงสุดในการก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2558 เพื่อให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน และ(2) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกโดยการจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTAs) ซึ่งปัจจุบันอาเซียนได้จัดทำ FTA กับประเทศคู่ค้ารวม 5 ฉบับ กับ 6 ประเทศ ได้แก่ (1) อาเซียน-จีน (2) อาเซียน-ญี่ปุ่น (3) อาเซียน-เกาหลี (4) อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ และ (5) อาเซียน-อินเดีย รวมทั้งมีแนวโน้มที่จะทำความตกลงการค้าเสรีที่มีขนาดใหญ่และครอบคลุมระดับการเปิดเสรีมากขึ้นโดยเริ่มจากภูมิภาคเอเชียตะวันออก หรืออาเซียน+3 และอาเซียน+6 ซึ่ง อาเซียนและประเทศคู่เจรจาได้ร่วมกันจัดทำผลการศึกษาของกรอบ อาเซียน+3 และอาเซียน+6 ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 – 2551

ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership) เป็นการพัฒนามาจากแนวคิด ASEAN+6 ซึ่งเป็นการดำเนินงานต่อเนื่องของอาเซียนในการบรรลุวัตถุประสงค์ของการสร้างให้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC เป็นภูมิภาคที่สามารถบูรณาการระบบเศรษฐกิจของตนเข้ากับระบบเศรษฐกิจภายนอกภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถรักษาบทบาทของอาเซียนในการเป็นแกนกลางขับเคลื่อนการรวมกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้นในภูมิภาคไว้ในขณะเดียวกัน ดังนั้น RCEP จึงเป็นการดำเนินงานอันสำคัญของอาเซียนในการบูรณาการเศรษฐกิจเข้ากับภายนอกตามแผน AEC Blueprint

เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 19 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ผู้นำได้รับรองเอกสารกรอบอาเซียนสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (ASEAN Framework for Regional Comprehensive Economic Partnership - RCEP) เพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่จะจัดทำความตกลงฉบับองค์รวมที่พัฒนาจากความตกลงการค้าเสรีของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา (ASEAN FTA Partners – AFPs) ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ประเทศ คือ ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์  

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 อาเซียนและประเทศ +6 จึงตั้งคณะทำงานด้านเทคนิค 3 ด้าน คือ การค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน เพื่อเตรียมแนวจัดทำหลักการทั่วไปสำหรับการเจรจาในแต่ละด้าน (Guiding Principles) เพื่อเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของการเจรจาแต่ละด้าน โดยในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและประเทศ+6 จึงได้รับรองเอกสารว่าด้วยหลักการทั่วไปและวัตถุประสงค์ของการเจรจา RCEP (Guiding Principles and Objectives for Negotiating the Regional Comprehensive Economic Partnership)

เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ผู้นำอาเซียนและประเทศคู่เจรจาได้ออกปฏิญญาร่วมว่าด้วยการประกาศการเริ่มเจรจาความตกลง RCEP (Joint Declaration on the Launch of Negotiations for the RegionalComprehensive Economic Partnership) เพื่อประกาศเริ่มการเจรจา RCEP อย่างเป็นทางการและตั้งเป้าหมายเจรจาให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 (ซึ่งเป็นปีเดียวกับเป้าหมายการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)) โดยประเทศสมาชิก 16 ประเทศเริ่มหารือเพื่อจัดทำแนวทางการเจรจา (Scoping Papers) ของด้านการค้าสินค้า การค้าบริการและการลงทุน โดยใช้พื้นฐานจาก Guiding Principles ซึ่งจะเป็นการระบุองค์ประกอบและเนื้อหาสำคัญเพื่อกำหนดทิศทางการเจรจาร่วมกันในเบื้องต้น

กรอบการเจรจา RCEP ASEAN Framework for Regional Comprehensive Economic Partnership - RCEP)
ความตกลง RCEP จะเป็นความตกลงแบบองค์รวม (Comprehensive Agreement) ที่มีมาตรฐานสูง ประกอบไปด้วยความร่วมมือทั้งเชิงลึกและเชิงกว้างกับประเทศสมาชิก RCEP โดยจะครอบคลุมทุกมิติในด้านการเข้าถึงตลาด โดยตั้งเป้าที่จะลดภาษีระหว่างกันให้ได้มากที่สุด รวมถึงการลดอุปสรรคทางการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน และจะเปิดกว้างผนวกประเด็นใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบัน อาทิ เรื่องนโยบายการแข่งขัน และทรัพย์สินทางปัญญา เข้าไปในความตกลงด้วย

กลไกการดำเนินการ
รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้เห็นชอบการจัดตั้งคณะเจรจา RCEP หรือ “RCEP Trade Negotiating Committee” (RCEP-TNC) และรับรองแนวทางการดำเนินงาน (TOR ของ TNC) เพื่อเป็นกลไกหลักในการเจรจาความตกลงฯ

ร่างแผนการดำเนินงาน/การประชุมภายใต้กรอบ RCEP (ปัจจุบัน – ปี 2558)
1. ประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้า RCEP ครั้งที่ 2 ณ เมืองบริสเบน ออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 23 – 27 กันยายน 2556
2. ประชุม RCEP Summit ณ ประเทศบรูไน รายงานผลความคืบหน้าการเจรจา RCEP ระหว่างวันที่ 9- 10 ตุลาคม 2556
3. ประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้า RCEP ครั้งที่ 3 ณ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 21 – 25 มกราคม 2557
4. ประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้า RCEP ครั้งที่ ณ ประเทศสาธารณรัฐปประชาชนจีน ช่วงเดือนเมษายน 2557
5. ประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้า RCEP ครั้งที่ 5 ช่วงเดือนกรกฎาคม 2557
6. ประชุม RCEP Ministerial Meeting ครั้งที่ 2 ณ ประเทศเมียนมาร์ ช่วงเดือนกรกฎาคม 2557
7. ประชุม RCEP Summit ณ ประเทศเมียนมาร์ รายงานผลความคืบหน้าการเจรจา RCEP ช่วงเดือนตุลาคม 2557
8. ประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้า RCEP ครั้งที่ 6 ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2557
9. ประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้า RCEP ครั้งที่ 7 ช่วงเดือนมกราคม 2558
10. ประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้า RCEP ครั้งที่ 8 ช่วงเดือนเมษายน 2558
11. ประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้า RCEP ครั้งที่ 9 ช่วงเดือนมิถุนายน 2558
12. ประชุม RCEP Ministerial Meeting ครั้งที่ 3 ณ ประเทศมาเลเซีย ช่วงเดือนสิงหาคม 2558
13. ประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้า RCEP ครั้งที่ 10 ช่วงเดือนกันยายน 2558
14. ประชุม RCEP Summit ณ ประเทศมาเลเซีย เพื่อรายงานผลความคืบหน้าการเจรจา RCEP ช่วงเดือนตุลาคม 2558

ความสำคัญของการจัดทำความตกลง RCEP

1. หนึ่งในแผนงานการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน RCEP เป็นความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจาอีก 6 ประเทศ ได้แก่ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นการดำเนินงานต่อเนื่องภายใต้ AEC Blueprint ของอาเซียนในการบรรลุวัตถุประสงค์ของการสร้างให้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC เป็นภูมิภาคที่สามารถบูรณาการระบบเศรษฐกิจของตนเข้ากับระบบเศรษฐกิจภายนอกภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถรักษาบทบาทของอาเซียนในการเป็นแกนกลางขับเคลื่อน (ASEAN Centrality) การรวมกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้นในภูมิภาคไว้ โดยประเทศอาเซียนและคู่เจรจามีเป้าหมายที่จะให้การเจรจาความตกลง RCEP เป็นความตกลงยุคใหม่และมีคุณภาพสูงทันสมัยทั้งเชิงลึกและเชิงกว้าง ครอบคลุมทุกมิติการค้า และเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิต การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศผู้เข้าร่วมเข้าไว้ด้วยกันและครอบคลุมประเด็นการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบัน เช่น การแข่งขัน ทรัพย์สินทางปัญญา และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการรวมตัวทางภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน  

2. ผู้นำอาเซียนและคู่เจรจาได้รับรองให้เจรจากรอบ RCEP ผู้นำอาเซียนและประเทศคู่เจรจาได้ออกปฏิญญาร่วมว่าด้วยการประกาศการเริ่มเจรจาความตกลง RCEP (Joint Declaration on the Launch of Negotiations for the Regional ComprehensiveEconomic Partnership) ในวันที่ 20 พ.ย. 2555 เพื่อเป็นการประกาศเริ่มการเจรจา RCEP และตั้งเป้าหมายเจรจาให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 โดยได้กำหนดแผนงานการประชุมอย่างเข้มข้นตั้งแต่ปี 2556 – 2558 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการสรุปผลให้สำเร็จในปี 2558 โดยในปี 2557 กำหนดการประชุมทั้งในระดับรัฐมนตรี (RCEP Ministerial Meeting), การประชุมหัวหน้าคณะเจรจาการค้า (RCEP – TNC) และการประชุมในระดับคณะทำงาน/คณะทำงานกลุ่มย่อยโดยมีเป้าหมายเบื้องต้นที่จะสรุปรูปแบบการลดภาษีสินค้าให้ได้ภายในกลางปีหน้า

3. ตลาดการค้าใหญ่
จากการที่ RCEP เป็นความตกลงการค้าเสรีระหว่าง 16 ประเทศ ทำให้การเจรจาจัดทำกรอบ RCEP ครอบคลุมตลาดขนาดใหญ่ที่มีประชากรรวมกันกว่า 3,358 ล้านคน หรือคิดเป็น 50% ของประชากรโลก และมี GDP รวมกันถึง 17,100  พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ข้อมูลปี 2555) หรือคิดเป็น 27ของ GDP โลก หรือ อาจเรียกได้ว่า RCEP เป็น FTA ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดฉบับหนึ่งของโลก

4. โอกาสทางการค้า (ทั้งการค้าสินค้าและการค้าบริการ) ระหว่างประเทศไทยกับสมาชิก RCEP กรอบ RCEP
- สินค้าที่ไทยอาจได้เปรียบในการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยานพาหนะ ผัก ผลไม้แปรรูป อาหาร เคมีภัณฑ์ พลาสิตก ยาง เป็นต้น
- สินค้านำเข้าของไทยจากประเทศสมาชิก เป็นสินค้าที่เกื้อกูลกัน เพราะเป็นสินค้าวัตถุดิบที่ใช้เพื่อจัดทำสินค้าสำเร็จรูปต่อไปในไทย เช่น เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์เหล็ก เป็นต้น
- การค้าบริการที่ไทยมีศักยภาพในการให้บริการ ได้แก่ บริการด้านการธนาคาร (โดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้าน) ก่อสร้าง ท่องเที่ยวด้านโรงแรม และร้านอาหาร และสปา อย่างไรก็ดี ด้านการเงินและก่อสร้าง ไทยมีศักยภาพในบางประเทศ เช่นในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน และอินเดีย

5. เกิดการสร้างโครงข่ายการผลิต (Production Network) เป็นแรงส่งให้ไทยมีโอกาสปรับโครงสร้างการผลิต ระหว่างอุตสาหกรรมต่างๆ โดยการโอนย้ายการผลิตในอุตสาหกรรมที่ความสามารถในการแข่งขันต่ำและมีแนวโน้มถดถอยโดยไปลงทุนในประเทศอื่น และเพิ่มการผลิตในอุตสาหกรรมที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง รวมถึงอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพใหม่ๆ โดยการสร้างความแตกต่างในสินค้า เกิดการหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพและราคาถูกลงได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้บริโภค

ความคืบหน้าล่าสุด (ตุลาคม 2557)
คณะกรรมการเจรจาการค้า RCEP เตรียมจัดประชุมเพิ่มเติมระหว่างวันที่ 27 – 28 ตุลาคม 2557 ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อหาข้อสรุปประเด็นติดค้างสำคัญด้านรูปแบบการเปิดตลาดการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน ให้แล้วเสร็จก่อนการประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้า RCEP (RCEP – TNC) ครั้งที่ 6 ที่จะมีขึ้นช่วงต้นเดือนธันวาคม 2557 ณ ประเทศอินเดีย
นายธวัชชัย  โสภาเสถียรพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงรักษาราชการแทนอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า จากผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจRCEP ครั้งที่ 2 เมื่อช่วงเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา รัฐมนตรีได้เร่งให้เจ้าหน้าที่สรุปหาท่าทีร่วมกันในประเด็นติดค้างสำคัญด้านรูปแบบการเปิดตลาดการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุนคณะกรรมการเจรจาการค้า RCEP จึงกำหนดให้มีการประชุมเพิ่มเติมระหว่างวันที่27 – 28 ตุลาคม 2557 ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อหาข้อสรุปให้แล้วเสร็จก่อนการประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้า RCEP (RCEP – TNC) ครั้งที่ 6 ที่จะมีขึ้นช่วงต้นเดือนธันวาคม 2557 ณ ประเทศอินเดีย
นายธวัชชัย กล่าวถึงประเด็นที่จะหารือในการประชุมครั้งนี้ว่าที่ประชุมจะหารือใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ การค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุนและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยในประเด็นด้านการค้าสินค้า พยายามหาข้อสรุปให้ได้ว่ารูปแบบของการเปิดเสรีสินค้าสำหรับยื่นข้อเสนอยกเลิกภาษีนำเข้าในกลุ่มแรก(Initial Offer) จะเป็นอย่างไร จะกำหนดให้จำนวนรายการสินค้าในกลุ่มแรกเปิดตลาดร้อยละเท่าไหร่และรายการสินค้าที่เหลือจะลดหรือยกเลิกภาษีกันอย่างไร เพื่อเป็นฐานเริ่มต้นเพื่อต่อยอดการเปิดตลาดในกรอบ RCEP ได้ดีกว่าความตกลง FTA ที่อาเซียนกับคู่เจรจามีอยู่ในปัจจุบัน 5 ฉบับ (ได้แก่ ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน– จีน ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน – เกาหลีใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน– ญี่ปุ่น และความตกลงการค้าเสรีอาเซียน – อินเดีย)
ในด้านการค้าบริการพยายามหาข้อสรุปให้ได้ว่ารูปแบบการเปิดตลาดการค้าบริการในรูปแบบใดที่จะเหมาะสมกับประเทศสมาชิกRCEP โดยมีการนำเสนอรูปแบบการเปิดตลาดหลายรูปแบบ อาทิ รูปแบบการเปิดตลาดโดยผูกพันสาขาบริการที่แต่ละประเทศพร้อมเปิด (Positive List Approach) หรือ ระบุเฉพาะสาขาและมาตรการที่ไม่ต้องการเปิดตลาดลงไปในตารางข้อผูกพัน (Negative List Approach) หรือรูปแบบการเปิดตลาดในรูปแบบอื่นๆ
สำหรับการลงทุนที่ประชุมยังไม่มีท่าทีร่วมกันถึงรูปแบบการเปิดตลาดการลงทุนที่ใช้แนวทางการเปิดตลาดที่ระบุสาขาและมาตรการที่ไม่ต้องการเปิดเสรีลงไปในตารางข้อผูกพัน(Negative List Approach) ซึ่งเป็นแนวทางที่ยอมรับในทุกความตกลงการค้าเสรีอาเซียนกับคู่เจรจา
นอกจากนี้ที่ประชุมจะหารือเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ว่าควรมีขอบเขตอย่างไร ทั้งนี้ทุกประเทศเห็นว่าการเจรจาเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ภายใต้กรอบ RCEP จะช่วยเสริมสร้างให้ RCEP เป็นความตกลงที่ทันสมัยและมีคุณภาพสูงตามเจตนารมณ์เพราะพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้า ลดต้นทุนการดำเนินการของผู้ประกอบการรวมถึงส่งเสริมการทำธุรกิจของ SME ในประเทศภาคีอีกด้วย
หากการประชุมครั้งนี้สามารถหาข้อสรุปการเจรจาดังกล่าวข้างต้นจะทำให้การเจรจาดำเนินการต่อไปได้อย่างมีทิศทาง และเป็นไปตามเป้าหมายที่ผู้นำกำหนดให้สรุปผลการเจรจา RCEP ภายในสิ้นปี 2558 โดยมีอาเซียนเป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในภูมิภาค RCEP ซึ่งจะกลายเป็นเขตการค้าเสรีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกครอบคลุมประชากรกว่า3 พันล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 50ของประชากรโลก มีมูลค่าการค้ารวมกันสูงถึง 10.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 29 ของการค้าโลก และครอบคลุมตลาดส่งออกของไทยกว่าร้อยละ 57 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด        
ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) ประกอบด้วยสมาชิก 16 ประเทศ ได้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจา ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย จีนอินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์ ความตกลง RCEP ถือเป็นความริเริ่มของอาเซียนเพื่อแสดงเจตนารมณ์ของอาเซียนที่จะจัดทำความตกลงRCEP โดยมีอาเซียนเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนการรวมกลุ่มของภูมิภาคRCEP มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นความตกลงที่ทันสมัย ครอบคลุมมีคุณภาพสูงและเป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก RCEP โดยจะครอบคลุมด้านการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุนนโยบายแข่งขันทางการค้า ทรัพย์สินทางปัญญา ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ กฏหมายและประเด็นอื่นๆ




Date Posted: 23/6/2552
Date Modified: 28/10/2557